บูรพาจารย์แห่งสุวรรณโคมคำ

ชีวประวัติสมเด็จพระมหาศรีศรัทธา ฯ

บูรพาจารย์แห่งสุวรรณโคมคำ


ความเป็นมา

เหตุการณ์บ้านเมืองในยุคสุโขทัยและศรีสัชนาลัยโดยการปกครองของ พ่อขุนศรีนำถุม(ปู่ของสมเด็จฯ) จนกระทั้งพ่อขุนศรีนำถุมสิ้นพระชนม์ ต่อมาขอมได้นำกำลังทหารเข้ายึด สุโขทัยไว้ได้ “พ่อขุนผาเมือง”ได้ร่วมมือกับพ่อขุนบางกลางหาว ช่วยกันตีเอาเมืองกับมาได้


พ่อขุนผาเมือง

Òพ่อขุนผาเมือง จึงอัญเชิญพ่อขุนบางกลางหาวเข้าครองเมืองสุโขทัย โดยสถาปนาพ่อขุนบางกลางหาวครองเมืองสุโขทัย พร้อมมอบพระขรรค์ชัยศรี และพระนามพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นปฐมบรมกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงที่ครองเมืองสุโขทัยสืบมา เมื่อเสร็จศึกกับขอมสบาดโขลญลำพงแล้ว พ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกกับนางสิงขรมหาเทวี พระราชธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์ขอมที่ครองกรุงยโสธรนครธม


ที่มา http://www.info.ru.ac.th/province/sukhotai/pkr1.htm


Òปฐมวัย
เจ้าศรีศรัทธาราชจุฬามุนี เป็นผู้เฉลียวฉลาดมีปัญญาดี
  รักการเรียนรู้แสวงหาความรู้มิหยุดหย่อนล้วนรู้แจ้งทุกสรรพศาสตร์ มักเรียนรู้คุณพิเศษหลายประการ เช่นรู้คุณม้า,ช้าง,ราชสีห์,โหราศาสตร์ เป็นต้น ทุกวันพระพ่อขุนรามคำแหงจะ ทรงเสด็จไปวัด รักษาศีลและฟังธรรมจากเถระผู้ทรงความรู้เป็นประจำ เจ้าศรีศรัทธาราชจุฬามุนี อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยพุทธศาสนา และ ซึมซับความดีมากมายในช่วงปฐมวัย

วัยหนุ่ม

เจ้าศรีศรัทธาฯ ทรงสำเร็จวิชาการรบทุกรูปแบบ เนื่องด้วยบ้านเมืองยังไม่สงบสุขในขณะนั้น ซึ่งรบเคียงบ่าเคียงไหล่ กับพ่อขุนรามคำแหง ในเชิงรบที่เหนือชั้นจนไม่มีผู้ใดจะต้านทานได้ยังไม่มีประวัติหรือจารึกว่า “แพ้ ” แม้สักครั้งเดียว เพราะราชตระกูลของพระองค์ เชี่ยวชาญการรบทั้งสิ้น โดยอุปนิสัย คือ การให้อภัยการต่อสู้แต่ละครั้งจึงไม่ใช่เรียกว่าการ ฆ่า แต่เพื่อรักษาความถูกต้องและประโยชน์ความสุขของมหาชนให้คงอยู่เท่านั้น

คัมภีร์มหาจักพรรดิราช(คัมภีร์สุวรรณโคมคำ)
คัมภีร์มหาจักพรรดิราชเนื้อหาคัมภีร์มีทั้งหมด 16 ส่วน(ว่าโดยย่อมี 3 ส่วนหลักคือ1.โหราฯ2.กสิณ3.สมุนไพรฯ คัมภีร์จักรพรรดิราชสืบทอดมาช้านานตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้า กกุสันโธสมณโคดม และ มีพราหมณ์หนุ่มผู้หนึ่งได้พยากรณ์ได้อย่างแม่นยำที่สุด ว่าเจ้าชายสิธัตถะออกบวชและเป็นพระพุทธเจ้า  คือ โกณฑัญญะพราหมณ์

ศึกชนช้าง
Òขุนจัง..ผู้เรืองวิชาอาคม ขี่ช้างตกมัน พร้อมไพร่พลจำนวนหนึ่งเข้ามาท้ารบกับพ่อขุนรามคำแหง พ่อขุนรามไม่คิดจะรบด้วย(ชรามากแล้ว) จึงเจรจาขอเป็นมิตรกัน ขุนจังก็ไม่ยอมเลิกราจะ รบท่าเดียว จึงแกล้งยั่วโทสะและวาจาหยาบคาย สารพัด

Òเจ้าศรีศรัทธารู้สึกเจ็บใจแทนพ่อ จึงขอต่อสู้แทนพ่อ จึงนำช้างพัง(ตัวเมีย)คู่บารมีโดยการตัดกำลังช้างด้วยการยิงธนูไปที่ต่อมน้ำมันช้างตกมันของฝ่ายขุนจัง จึงทำให้เพี้ยงพร้ำในที่สุด ขุนจังก็ยอมแพ้


Òเจ้าศรีสัทธาเมื่ออายุ เข้า 29 ย่าง30 เผชิญมรสุมหลากหลายประการ เช่น การเมืองที่วุ่นวายสูญเสีย คนรัก ท่านจึงมองในมุมพระพุทธศาสนาว่า “ความไม่เที่ยงแท้ของโลก”

มรสุมชีวิต
Òใคร่ปรารถนาออกบวช
มียศ  เสื่อมยศ
มีลาภ  เสื่อมลาภ
มีสุข  มีทุกข์
มีสรรเสริญ  มีนินทา

ล้วนแล้วไม่เที่ยงสักอย่างเดียวเป็นไปเพื่อทุกข์ทั้งนั้น 

ทิ้งดาบ...มุ่งธรรม

เจ้าศรีศรัทธาตัดสินใจแน่วแน่เห็นโทษภัยในทางโลก จึงนำเครื่องศาสตราวุธนำไปทำลายและนำแก้วแหวนเงินทอง,พระชายา,ราชโอรส,ราชธิดา บริจาคทาน แม้นผู้ใดอยากได้ศีรษะของเจ้าศรีศรัทธาก็จะยอมให้ตัด ณ ตอนนั้นตั้งพระหฤทัย ปรารถนาพุทธภูมิหรือพระพุทธเจ้าในอนาคต หลังจากนั้นท่านได้ทรงผนวช ณ วัดจุฬามณี ที่เมืองสองแคว (พิษณุโลก)

ปฏิปทาสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนี
Òทรงประพฤติตามหลักพระธรรมวินัยมีวัตรปฏิบัติเคร่งครัดเยี่ยงพระมหาเถรในลังกาเช่น
Ò1.มีปัญญาหลักแหลม
Ò2.ใฝ่ธรรม ชอบให้ทาน
Ò3.นุ่งห่มผ้างดงาม
Ò4.บิณฑบาตไม่ขาดสักวัน
Ò5.ฉันอาหารที่จากการบิณฑบาต
Ò6.ที่เหลือแจกจ่ายผู้อื่น (โอยทาน)
Ò7.เมตาเอ็นดูสัตว์
Ò8.รู้บุญคุณผู้อื่น
Ò9.ชอบธุดงค์
Ò10.รู้ทุกภาษา
ปฏิบัติกรรมฐาน
Òเมื่อกาลออกพรรษา พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ เที่ยวออกจาริกไป ณ ที่ต่างๆ “มักกระทำความเพียร ทั้งกลางวันและกลางคืน” ท่านเจริญกรรมฐาน จนได้สำเร็จ ทั้ง 10 คือ

 ๑.ปฐวีกสิณ เพ่งดิน     ๖.โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง
 ๒.อาโปกสิณ เพ่งน้ำ     ๗.ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง
 ๓.เตโชกสิณ เพ่งไฟ     ๘.โอทากสิณ เพ่งสีขาว
 ๔.วาโยกสิณ เพ่งลม     ๙.โอโลกกสิณ เพ่งแสงสว่าง
 ๕.นีลกสิณ เพ่งสีเขียว   ๑๐.อากาสกสิณ เพ่งอากาศ

อภิญญา ๕
Ò๑) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
Ò๒) ทิพพจักขุญาณ หรือ จุตูปปาตญาณ ตาทิพย์และรู้ว่าตายแล้วไปเกิดที่ไหน
Ò๓) ปริจิตตวิชานน หรือ เจโตปริยญาณ รู้จิตใจผู้อื่น
Ò๔) ทิพพโสตญาณ หูทิพย์
Ò๕) อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้
* ซึ่งครูบาอาจารย์สายสุวรรณโคมคำเล่าสืบกันมา
แรงอธิษฐาน
Òพระมหาเถรศรีศรัทธา ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดจุฬามุนี หลังออก พรรษาท่านมักออกธุดงค์ไปตามหุบเขาต่างๆ เห็น พระธาตุ เจดีย์ ทรุดโทรม ท่านจึงลองต้องจิตอธิษฐาน ขอปูนเพื่อมาซ่อม พระธาตุ เจดีย์ ก็มีคนนำมาให้น่าอัศจรรย์ใจ
Òแม้แต่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่เหี่ยวเฉา พระมหาเถรศรีศรัทธาก็อธิษฐาน “ถ้าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตจริง ขอต้นไม้จงเติบโตอย่าได้เหี่ยวเฉาเลย” ด้วยแรงอธิษฐาน ต้นไม้ก็โตวันโตคืนผลิตออกใบเขียวงดงาม

สืบศาสนาที่ลังกา

พระมหาเถรศรีศรัทธา เสด็จไปแสวงบุญที่เกาะลังกา ด้วยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ
1.นำอภิธรรมมาเผยแผ่แก่ประชาชน
2.หลักปฏิบัติ สมถะและวิปัสสนา
3.เพื่อบูรณปฏิสังขรณ์พุทธสถาน ตามเส้นทางที่ ธุดงค์ เพื่อให้ประชาชนได้สักการบูชา
* ระหว่างทางทางนั้น พระมหาเถรศรีศรัทธานั้น แวะสักการะสังเวชนียสถาน คือสถานที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานแล้วลงเรื่อยไปลงใต้ “แคว้นกลิงครัฐ”ข้ามไปเกาะลังกา ในที่สุด
ชาวสิงหลยกย่อง
ต่างพากันกราบไหว้ด้วยบารมีของท่าน แล้วนอนราบพื้นเรียงกัน(เป็นธรรมเนียมโบราณ) และพากันเอาน้ำมาล้างเท้าแล้วเอามาดื่ม แถมยังเอาดินที่ท่านขุดนำมาบูชา พระมหาเถรศรีศรัทธาอยู่เกาะลังกาประมาณ 10 ปี ช่วงนั้นเอง พระมหาธรรมราชาลิไท ก็ส่งราช บัณฑิตกราบอาราธนา กลับ สู่กรุงสุโขทัยและศรีสัชนาลัย (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์)ได้นิพนธ์ไว้

สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีลงกาทีปมหาสวามี
 Òพระมหาธรรมราชาลิไท (ผู้เป็นหลาน) แต่งตั้งให้เป็น สมเด็จพระมหาเภรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีลงกาทีปมหาสวามี สังฆราชองค์แรก ของ กรุงสุโขทัย
Òครูบาอาจารย์สายสุวรรณโคมคำ เล่าสืบกันมา ว่า สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธา ได้ผนวกอภิธรรม + คัมภีร์สุวรรณโคมคำ จนครบสมบูรณ์ จนเวลาผ่านไป ทำให้หลักธรรมนั้น กร่อนลงไปมาก ดังนั้น ผู้ที่ศึกษาคัมภีร์สุวรรณโคมคำ ต้อง ฝึกกสินควบคู่กันไปอีกด้วย
ศาสนทายาท
Òพระองค์ไม่ได้สร้างแค่วัตถุ ทรงสร้างศาสนทายาทไว้อีกจำนวนมาก
Òพระสุมนะ
Òพระอุดมรามเถระ
Òพระธรรมราชาลิไท
Òล้วนแล้วชำนาญเชี่ยวชาญในพระไตรปิฏกและคัมภีร์โหราศาสตร์สุวรรณโคมคำทั้งสิ้น


เรียบเรียงโดย
ป. รัตตัญญู
 (ศิษย์สุวรรณโคมคำ)




















1 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น